top of page
รูปภาพนักเขียนกฎหมายออโต้ดี

การใช้รถอย่างปลอดภัยในการขับขี่

อัปเดตเมื่อ 1 ก.ย. 2562


ตรวจสภาพรถยนต์เบื้องต้น เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง



  • ตรวจระบบไฟส่องสว่างทั้งหมด

  • ตรวจสภาพยางรถยนต์ และเช็กลมยาง

  • ตรวจระบบแตร

  • ตรวจยางใบปัดน้ำฝน

  • ระดับน้ำมัน (น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก และน้ำมันพวงมาลัย)

  • ระดับน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำ

  • ระดับน้ำกรดของแบตเตอรี่

  • ระดับน้ำล้างกระจก (ทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด)

  • ตรวจห้องโดยสาร

  • เข็มขัดนิรภัย

  • แป้นเบรก แป้นคลัตช์ และเบรกมือ

  • มาตรวัดต่าง ๆ

  • ตรวจห้องเก็บสัมภาระ

  • ยางอะไหล่ (ต้องมีพร้อม)

  • เครื่องมือประจำรถ (เช่น เครื่องมือเปลี่ยนยาง)



อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ โดยการแก้ไขจากสาเหตุที่ทำให้เกิด สำหรับการใช้รถใช้ถนนแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะตลอดจนสร้างความเสียหาย แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม ได้แก่

1. ผู้ขับขี่ขาดความรอบรู้ในการใช้รถใช้ถนน 2. ประชาชนผู้เดินถนนขาดความรู้เกี่ยวกับการเดินถนน ตลอดจนการโดยสารที่ปลอดภัย 3. ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และขับรถอยู่บนความประมาทขาดความระมัดระวัง หรือขับรถในขณะมึนเมา ซึ่งอุบัติเหตุบนท้องถนนในปัจจุบันที่กำลังเพิ่มปริมาณขึ้นเกิดจากสาเหตุนี้ โดยหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการรณรงค์ไม่ให้ผู้ขับรถดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะขับ รถ


ความรู้ในการขับรถที่เสี่ยงต่ออันตราย

หมายถึงการขับรถบนถนนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถนนลื่น ขึ้นลงเขา หรือขับรถทางไกล ซึ่งผู้ขับขี่ควรมีความรู้ต่างๆ ดังนี้

1. ขับรถขณะฝนตกถนนลื่น ควรชะลอความเร็วรถให้ช้าลงกว่าปกติและทิ้งระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น ถ้าขับรถอยู่บนทางที่ให้รถขับสวนกันก็ควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อเตือนให้รถที่ วิ่งสวนมามองเห็น เวลาจะหยุดรถควรใช้เกียร์ช่วย ไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลัน เพราะอาจทำให้รถปัดหรือหมุนได้ 2. การขับรถขึ้น-ลงเขาสูง เวลาขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำที่มีกำลังพอ เพราะถ้าเครื่องยนต์ไม่มีกำลังพอจะทำให้รถดับได้ ถ้ารถดับและไหลลงจากเขาต้องเหยียบเบรกและใช้เบรกมือช่วย ส่วนเวลาลงเขาก็ควรใช้เกียร์ต่ำเช่นกันเพื่อฉุดกำลังไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป หรือคอยประคองรถด้วยการเหยียบเบรกชะลอให้รถช้าพอที่จะบังคับได้ 3. การขับรถทางไกล ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถทางไกล ซึ่งอาจมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตนดังนี้ ก. ตรวจสภาพและอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ดังนี้

  • ตรวจช่วงล่าง คันส่งคันชักพวงมาลัย

  • ตรวจยางทั้งสี่ล้อ และยางอะไหล่ด้วย ยางไม่มีดอกควรเปลี่ยน นอตล้อขันแน่นหรือไม่ วัดลมยางทั้งสี่ล้อให้ได้ขนาดเหมาะสมกับรถ และควรมีที่วัดลมยางติดไปด้วย

  • เตรียมแม่แรงประจำรถ เหล็กขันแม่แรงและกุญแจขันแม่แรง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าใช้การได้หรือไม่

  • ตรวจระบบเบรก ผ้าเบรก น้ำมันเบรก และตรวจเบรกมือว่าใช้การได้ดีหรือไม่

  • ตรวจระบบเครื่องยนต์ ลองสตาร์ตเครื่องว่าเดินเรียบหรือไม่ ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบอาจต้องเปลี่ยนหัวเทียนหรือทองขาว

  • ตรวจดวงไฟหน้าทั้งสองดวง รวมถึงไฟทุกดวงของรถ ต้องสว่างเพียงพอและให้การได้ดีทุกดวง ปรับไฟสูง-ไฟต่ำให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ ถ้าหลอดขาดหรือฟิวส์ขาดให้เปลี่ยน

  • ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ น้ำในหม้อน้ำ (รังผึ้ง) ถ้าหม้อน้ำแห้งหรือทางเดินของน้ำหมุนเวียนอุดตัน เครื่องยนต์จะร้อน สังเกตได้จากหน้าปัดวัดความร้อน อาจทำให้เสื้อสูบแตกหรือชาร์จละลาย

  • ตรวจน้ำล้างกระจก ท่อฉีดน้ำกระจกต้องไม่อุดตัน ที่ปัดน้ำฝนยังใช้การได้ดี

  • ตรวจน้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่องจะต้องเปลี่ยนทุก 5,000-10,000 กิโลเมตร

  • ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอหรือไม่ และไส้หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสะอาด ซึ่งจะต้องเปลี่ยนทุก 10,000- 20,000 กิโลเมตร น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเติมให้ค่าออกเทนตรงกับสภาพรถ ซึ่งสามารถสอบถามได้ตามสถานีบริการน้ำมันต่างๆ

  • ตรวจระบบแตรว่าใช้การได้ดีหรือไม่

  • ตรวจระบบแอร์ ถ้าน้ำยาแอร์ไม่พอ แอร์จะไม่เย็น โดยดูจากช่องดูน้ำยาแอร์ใกล้ๆ กับคอมเพรสเซอร์ของแอร์ จะมีฟองอากาศและให้ตรวจ ดูสายพานแอร์ว่าหย่อนหรือชำรุดหรือไม่ และให้ตรวจดูสายพานแอร์ว่า

  • ตรวจการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นต่างๆ

  • นำรถไปอัดฉีดจาระบีล้อ เติมน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย


ดู 15 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page